Page 102 - The 8th Graduate Integrity Conference Proceeding
P. 102
th
Research Proceedings in The 8 Graduate Integrity Conference: April, 2017
ตารางที่ 1 ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพและปัญหาในปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ลักษณะสภาพแวดล้อมโดยรอบมีการจัดภูมิทัศน์ในพื้นที่ขนาด 16 x 28 เมตร พร้อมทั้งตั้งวาง
หุ่นจ�าลองเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 และอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยส่วนใหญ่เป็น
ไม้กระถางขนาดเล็ก การจัดวางต้นไม้ไร้ระเบียบ เส้นทางเดินไม่เชื่อมต่อกัน หุ่นจ�าลองมีสภาพผุพัง
จากการตั้งไว้กลางแจ้ง มีเสียงรถไฟและเสียงเรือยนต์จากบริเวณสะพานข้ามแม่น�้าแคว ภายในส่วน
จัดแสดงไม่มีการใช้เสียงดนตรี รวมทั้งไม่มีการใช้เสียงส�าหรับการบรรยายเฉพาะจุด
ลักษณะภายในห้องจัดแสดงเป็นพื้นกระเบื้องหินอ่อนสีขาวเหลืองมีลวดลาย ผนังทาสีขาว เพดาน
มีการวาดภาพเขียนหลากหลายโทนสี พื้นที่จัดแสดงวัตถุและภาพถ่ายอยู่ภายในอาคาร 2 ชั้น
มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพื้นที่ 2 ชั้น รวม 180 ตารางเมตร มีลักษณะการจัดแสดง
แบบเก่า คือผนังทั้งสองด้านและเพดานบางส่วนติดตั้งภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลก
ครั้งที่ 2 จ�านวนมาก กลางห้องจัดแสดงของทุกชั้นตั้งวางตู้กระจกทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานตาม
แนวยาวของห้องจัดแสดง ภายในจัดแสดงเครื่องใช้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธปืน มีด เครื่องเงิน
เครื่องแต่งกาย และวัตถุอื่นๆ
ลักษณะแสงสว่างภายในส่วนจัดแสดงวัตถุและภาพถ่าย ใช้หลอดไฟสีขาว 6 หลอด
ระยะห่าง 3 เมตร ในต�าแหน่งเดียวกันทั้ง 2 ชั้น และมีช่องเปิดให้แสงธรรมชาติส่องถึง
ซึ่งแสงสว่างในชั้นที่ 2 ไม่เพียงพอ ไม่มีการเปิดไฟ มีเพียงแต่แสงธรรมชาติจากภายนอก
ที่ส่องเข้ามา มีการติดตั้งแสงสว่างเฉพาะจุดบริเวณจัดแสดงภาพถ่ายแต่ไม่เปิดใช้ อุณหภูมิ
ภายในส่วนจัดแสดงไม่ร้อนเกินไป มีการถ่ายเทอากาศได้ค่อนข้างดี ไม่รู้สึกอึดอัด อุณหภูมิ
อยู่ที่ประมาณ 28-30 องศา ท�าให้ผู้วิจัยรู้สึกว่าอุณหภูมิภายในห้องจัดแสดงไม่เป็นอุปสรรค
ในการชมพิพิธภัณฑ์
ลักษณะผังการจัดวางเครื่องเรือนเป็นตู้กระจกใสส�าหรับจัดแสดงวัตถุ ตั้งวางเรียงกัน
แต่การแบ่งหมวดหมู่ของวัตถุยังไม่ชัดเจน บางจุดวัตถุถูกเรียงซ้อนทับกันจ�านวนมาก
�
ุ
ื
ั
อาวธปนแขวนเรียงซ้อนกันด้วยราวเหล็กสีดา เคร่องใช้ต้งวางบนโต๊ะหรือแท่นจัดแสดง
ื
่
รูปแบบตางกัน ขนาดความสูง 0.80-1 เมตร ส่วนการจัดวางแบบจ�าลองบรรยากาศมีเพียง
ค่ายพักแรมของทหารญี่ปุ่นจุดเดียว
ลักษณะการติดตั้งภาพถ่าย ติดเรียงกันจ�านวนมากถึง 4 แถว ตลอดผนังทุกด้านตั้งแต่ความสูง
0.80-2.50 เมตร ไม่มีการเว้นระยะ และสูงเกินกว่าระดับสายตา มีแสงสะท้อนจากแสงไฟสีขาว
กระทบกับภาพถ่ายซึ่งเป็นอุปสรรคในการชม ป้ายบรรยายวัตถุเป็นป้ายชนิดเคลื่อนย้าย พิมพ์
ลงในกระดาษสีขาวเคลือบด้วยพลาสติกใส การบรรยายภาพถ่ายใช้การเขียนไว้ใต้ภาพถ่าย
การบอกทิศทางเป็นการเขียนด้วยสีแดงไว้บนผนังหรือเสาสีขาว ในบางจุดตัวหนังสือเลือนราง
บางจุดเขียนไว้ที่ระดับสูงเกินกว่า 2 เมตร ภายในตู้จัดแสดงมีวัตถุหลายชนิดรวมกัน ได้แก่
อาวุธสงคราม เครื่องแต่งกาย เงินเหรียญต่างประเทศ ไม่มีการจัดนิทรรศการพิเศษและไม่มี
สิ่งอ�านวยความสะดวกอื่นๆ
ที่มา: ผู้วิจัย (2559)
ผลงานวิจัยในโครงการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา
97 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.