0044

รศ.ปริญญา ชูแก้ว

ภาระงานมอบหมายเพิ่มเติมของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

วุฒิการศึกษา :
  • MHP (Heritage Preservation) / Georgia State University, 2551
  • สถ.ม. (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม) / สจล., 2544
  • สถ.บ. (สถาปัตยกรรม) / สจล., 2540

ความเชี่ยวชาญ
การอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (Historic Preservation)

ความเชี่ยวชาญวิชาชีพ
การวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาย่านชุมชนเก่า เมืองเก่า และแหล่งมรดกอุตสาหกรรม

ความสนใจ / อื่นๆ
กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์

รางวัล
  • โล่เกียรติยศเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียติคุณบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้านบริการสังคม พุทธศักราช 2563
  • รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำพุทธศักราช 2561 ประเภทบุคคล
  • โล่เกียรติยศเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียติคุณบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้านบริการสังคม พุทธศักราช 2561
  • รางวัล KMITL Award ประจำพุทธศักราช 2558 ประเภท รางวัลที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม (Social Impact Awards) โดยกองทุนวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

งานวิจัย
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และคณะ. โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าภูเก็ต. ระยะเวลาดำเนินการ 270 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พุทธศักราช 2561 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2562 สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และคณะ. โครงการประเมินคุณค่าทางประวัติศาสตร์พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ. ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2560 สนับสนุนงบประมาณโดย กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และคณะ. โครงการการสำรวจอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ภายในพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสัน. ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2560 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช 2560 สนับสนุนงบประมาณโดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และคณะ. โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ชุมชนตลาดบน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. ระยะเวลาดำเนินการ 365 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2560 สนับสนุนงบประมาณโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และณธทัย จันเสน (ผู้ร่วมวิจัย). การเก็บข้อมูลแบบพื้นถิ่นของเรือนแถวไม้สองชั้นเลขที่ 162 บริเวณชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้. ระยะเวลาดำเนินการ 365 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2557 สนับสนุนงบประมาณโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปริญญา ชูแก้ว (หัวหน้าโครงการ) และณธทัย จันเสน (ผู้ร่วมวิจัย). โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์บริเวณย่านการค้าเก่าในเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ระยะเวลาดำเนินการ 365 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2556 สนับสนุนงบประมาณโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • โชติวิทย์ พงษ์เสริมผล (หัวหน้าโครงการ) และปริญญา ชูแก้ว (ผู้ร่วมวิจัย). แนวทางการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมแบบการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา กลุ่มอาคารบนถนนวานิชบำรุง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. ระยะเวลาดำเนินการ 730 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2554 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2556 สนับสนุนงบประมาณโดย กองทุนวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

หนังสือ/ตำรา
  • เอกรัช ศรีอายะยันพงษ์ (บรรณาธิการ) ปริญญา ชูแก้ว และคณะ. 2564. 111 ปี โรงงานมักกะสัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • สุรจิต จามรมาน (บรรณาธิการ) ปริญญา ชูแก้ว และคณะ. 2561. ร้อยเรื่องเมืองเก่าอันดามัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ็กทรีม อินเตอร์ มีเดีย จำกัด
  • ปริญญา ชูแก้ว และ รักพล สาระนาค. 2559. 100 ปี สถานีกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฟโต้สแควร์ แอนด์ กราฟฟิค จำกัด
  • ปริญญา ชูแก้ว. 2559. คู่มือการดูแลรักษาศาสนสถาน. ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • สุภาวดี รัตนมาศ และ ปริญญา ชูแก1ว. 2558. การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด
  • ปริญญา ชูแก1ว. 2557. เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พลัสเพรส จำกัด
  • ปริญญา ชูแก้ว. 2557. การอนุรักษ์ชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของไทย: ประสบการณ์จากการทำงานภาคสนาม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พลัสเพรส จำกัด

 

ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศและตางประเทศ (Full paper)
  • Chotewit Pongsermpol and Parinya Chukaew. 2022. Traditional Thai Community Conservation Focusing on Sustainable Participatory Process: A Case Study of Talaad Lang Community, Chumphon Province, Thailand. Civil Engineering and Architecture 10 (3)(06):816-829
  • ปริญญา ชูแก้ว. 2562. การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ บริเวณชุมชนตลาดบน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 16 หน้า 78 – 99
  • ปริญญา ชูแก้ว และณธทัย จันเสน. 2557. การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์บริเวณย่านการค้าเก่าในเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 11 หน้า 152 – 175
  • Parinya Chukaew and Chotewit Pongsermpol. 2013. Participatory Heritage Buildings Conservation Guidelines Case Study of Buildings on Wanit Bamrung Road, Sawi District, Chumphon Province. Proceeding of ICOMOS Thailand International Conference 2013 “Asian Forgotten Heriatge”. pp. 190 – 203
  • ปริญญา ชูแก้ว. 2554. การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 8 หน้า 178 – 197

 

วิชาที่สอน
        –  02216103 ออกแบบสถาปัตยกรรม 2
        –  02216104 ออกแบบสถาปัตยกรรม 3
        –  02216303 เทคโนโลยีทางอาคาร 2
        –  02216304 เทคโนโลยีทางอาคาร 3
        –  02216109 เตรียมวิทยานิพนธ์
        –  02216110 วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม

 

        รองศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของย่านชุมชนเก่า เมืองเก่า แหล่งมรดกทางอุตสาหกรรม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ เครือข่ายนักวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และนักศึกษาภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน สถาปัตยกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทาง (Induced Participatory Action Workshop) โดยพัฒนาจากเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผสานแนวทางการบริหารการพัฒนาทั้งจากบนลงล่าง (Top-down Approach) จากล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) และแนวระนาบ (Cross-sectoral Approach) ทำให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ทั้งในและนอกพื้นที่
        ผลงานของรองศาสตราจารย์ปริญญา ชูแก้ว สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในหลายลักษณะสำหรับประชาชน นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน โดยฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ในโครงการต่าง ๆ นั้นสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับกรมศิลปากรในการพิจารณาขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เจ้าของอาคารใช้เป็นข้อมูลในการปกป้องรักษาอาคารของตนจากการถูกทำลายจากโครงการพัฒนาในอนาคต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนปรับปรุงย่านชุมชนเก่าและเมืองเก่า และจัดทำแนวทางการพัฒนาอาคารหรือการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นพิเศษเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของอาคารที่มีคุณค่าร่วมกันก็จะนำมาซึ่งการหาหนทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
        สำหรับหนังสือ และบทความทางวิชาการ สามารถใช้อ้างอิงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (Historic Preservation) รูปแบบสถาปัตยกรรม การตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิต ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของย่านชุมชนเก่า เมืองเก่า และอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ ส่วนการจัดนิทรรศการ “ย่านเก่า…เล่าเรื่อง” การจัดทำโปสการ์ดย่านชุมชนเก่า เมืองเก่า และอาคารสถานีรถไฟ การบรรยายพิเศษ และการให้สัมภาษณ์กับสื่อสารมวลชนนั้นถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมไทยซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการเริ่มต้นรักษามรดกทางวัฒนธรรม และสามารถเก็บรักษา ฟื้นฟู ถ่ายทอด และต่อยอดองค์ความรู้