หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts Program in 3D-Based Communication Design and Integrated Media

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (การออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Fine and Applied Arts (3D-Based Communication Design and Integrated Media)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.บ. (การออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A (3D-Based Communication Design and Integrated Media)

ปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  120  หน่วยกิต

โครงสร้างหลัดสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาตามเกณฑ์ของคณะ 9 หน่วยกิต
กลุ่มศิลปะแห่งการจัดการ 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
วิชาแกน 15 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต
วิชาเอก 57 หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาบังคับ 39 หน่วยกิต
-วิชาศิลปนิพนธ์ 6 หน่วยกิต
-ประสบการณ์ภาคสนาม 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
-กลุ่มวิชาเลือก 12
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
การศึกษาการออกแบบสื่อสารที่บูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ ด้านปัจจัยมนุษย์ ศิลปะ การคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี ธุรกิจ สังคม และวัฒนธรรม เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานเป็นกระบวนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามปรัชญาการศึกษาแบบประสบการณ์นิยม นำไปสู่การสรรสร้างรูปแบบของสื่อสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการที่เปิดกว้างเพื่อตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างประสบการณ์ของมนุษย์ในบริบทที่หลากหลาย รวมทั้งเสริมสร้างประสบการณ์ผู้เรียนให้มีทักษะการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ พัฒนาสู่ทักษะวิชาชีพนักออกแบบมืออาชีพที่ตอบความต้องการของในยุคสมัยแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ความสาคัญ
มนุษย์ล้วนอาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยมิติที่หลากหลาย ความพยายามในการรับรู้ความหมาย ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ต่อกายภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัว จึงเป็นสิ่งที่มีความจาเป็นมากขึ้น กอปรกับกระแสความเปลี่ยนแปลงวิถีการดารงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างวัฒนธรรมทางการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ก่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบของสื่อและนวัตกรรมทางการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้นักออกแบบสื่อเพื่อการสื่อสาร จาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ ที่หลากหลายอย่างลึกซึ้ง เพื่อนาความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานออกแบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนตามแต่ละยุคสมัย รูปแบบของสื่อจึงต้องมีความเหมาะสมกับบริบทของ สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม การผลิตชิ้นงาน ความสามารถในการแปลความหมายของผู้คน เป็นต้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานที่กาหนดไว้ได้อย่างสร้างสรรค์มีความงามและสุนทรียะทางการออกแบบ การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ จึงจาเป็นอย่างยิ่งต่อการเป็นนักวิชาชีพผู้สร้างงานออกแบบอย่างมีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ และมุ่งสู่การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการออกแบบ ในสาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ ให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะในการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นจริงได้ เกิดประโยชน์ต่อสังคม
-เพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีคุณธรรม รู้จักหน้าที่ จรรยาบรรณและบทบาทของนักออกแบบที่พึงปฏิบัติต่อการส่งเสริมวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อมอันดีงาม
-เพื่อส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
-เพื่อส่งเสริมและทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ผสานการออกแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงของบริบททางสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

(1) นักออกแบบสนเทศสามมิติ (3D-Based Communication Designer)
(2) นักออกแบบสื่อบูรณาการ (Integrated Media Designer)
(3) นักออกแบบประสบการณ์ (Experience Designer)
(4) นักออกแบบปฏิสัมพันธ@ (Interaction Designer)

(5) นักออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดงสินค้า (Exhibition & Display Designer)
(6) นักออกแบบระบบกราฟิกในสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic Designer)
(7) นักออกแบบระบบอัตลักษณ์ของตราสินค้า (Brand and Identity Designer)
(8) นักออกแบบกราฟิกและบรรจุภัณฑ์ (Graphic and Packaging Designer)
(9) นักวิชาชีพในองค์กรด้านการออกแบบและสื่อสร้างสรรค์
(10) นักวิจัยพัฒนาด้านการออกแบบและสื่อสร้างสรรค์
(11) บุคลากรผู้สอนในสถาบันการศึกษาด้านการออกแบบและสื่อสร้างสรรค์
(12) นักวิชาการด้านการออกแบบและสื่อสร้างสรรค์
(13) ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการออกแบบและสื่อสร้างสรรค์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบัน

course-download