หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Architecture Program in Industrial Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ศิลปอุตสาหกรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Architecture (Industrial Design)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.บ. (ศิลปอุตสาหกรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Arch. (Industrial Design)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design)

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  137     หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาตามเกณฑ์ของคณะ 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 101 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 39 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพ 44 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสนับสนุนวิชาชีพ 6 หน่วยกิต
วิชาเตรียมวิทยานิพนธ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
ฝึกปฏิบัติวิชาชีพออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ไม่นับหน่วยกิต)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
การออกแบบสร้างสรรค์ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการออกแบบ มีความเป็นเลิศด้านวิชาการและวิชาชีพ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรมเหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน

ความสำคัญ
หลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยใช้เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการแข่งขันทางการตลาดให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างสร้างสรรค์ยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังนี้
1.1 มีทักษะ วิธีคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอย่างสร้างสรรค์สมเหตุสมผลและคำนึงถึงความยั่งยืน
1.2 ความสามารถในการสื่อสารการออกแบบอย่างมีสุนทรียภาพ
1.3 ความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์เพื่อการออกแบบที่ตอบสนองผู้บริโภคและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
1.4 มีความฉลาดทางอารมณ์และมีทักษณะทางสังคม
1.5 มีความสามารถประกอบธุรกิจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีบทบาทในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม
3. ค้นคว้า วิจัย และบูรณาการองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
4. การบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และส่งเสริมการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยให้เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(2) นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์
(3) นักออกแบบเซรามิก
(4) นักออกแบบสิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องแต่งกาย
(5) นักออกแบบผลิตภัณฑ์โลหะ
(6) นักออกแบบเครื่องประดับ
(7) นักออกแบบบรรจุภัณฑ์
(8) นักออกแบบกราฟฟิก
(9) นักออกแบบแบรนด์
(10) นักออกแบบประสบการณ์
(11) นักออกแบบเพื่อผู้ใช้งาน
(12) นักออกแบบระบบผลิตภัณฑ์ผสานบริการ
(13) นักออกแบบบริการ
(14) นักออกแบบนิทรรศการและอีเวนท์
(15) นักออกแบบรถยนต์
(16) ที่ปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
(17) นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
(18) นักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
(19) ผู้ประกอบการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
(20) บุคคลากรทางการศึกษาด้านการออกแบบ

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบัน การศึกษาแห่งอื่นผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบัน

course-download-en