หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine and Applied Arts Program in Digital Media Design and Motion Pictures

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Fine and Applied Arts (Digital Media Design and Motion Pictures)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.ม. (สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.F.A. (Digital Media Design and Motion Pictures)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

ด้านการภาพยนตร์ด้านการออกแบบ และด้านการถ่ายภาพ

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาโท
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก (2) 36 หน่วยกิต
แผน ข 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

 

แผน ก แบบ ก (2) ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิค
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก 21 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
บูรณาการการรับรู้ การเรียนรู้ให้มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญทั้งด้านศาสตร์ ศิลปะ และเทคโนโลยีดิจิทัล ของสื่อ ภาพยนตร์ การถ่ายภาพ และการออกแบบนิเทศศิลป์ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมสื่อ ศิลปะดิจิทัลในระดับชาติและอาเซียนที่พร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

ความสำคัญ
ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ประเทศไทยได้พัฒนาจากประเทศไทย 1.0 ที่เน้นการเกษตรเป็นหลักจนกระทั่งถึงปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ 4.0 โดยมีเป้าหมายให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงสามารถพึ่งพาตนเองได้ และยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือเรียกว่า Value-based Economy ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 มิติที่สำคัญ ซึ่งหนึ่งในมิติที่ สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย 3.0 ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ดังนั้นภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนด้านวิชาการ ภาพยนตร์ การถ่ายภาพและการออกแบบนิเทศศิลป์ของสื่อดิจิทัล มาเป็นระยะเวลา 35 ปี มีความเชี่ยวชาญ และมีความพร้อมในการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับปริญญาโทที่สูงขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายภาครัฐ และพันธกิจของสถาบันที่ต้องการพัฒนานักศึกษา ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักทั้ง 5 ของแพลตฟอร์ม ในการสร้าง “New Startups” ตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและประการสำคัญเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติได้

วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในการผลิตสื่อด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่นภาพยนตร์ สื่อโทรทัศน์ การออกแบบนิเทศศิลป์ และการถ่ายภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์
-เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์และผลิตงานวิจัย หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ของไทยให้โดดเด่นในเวทีระดับนานาชาติ
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือ Enterpreneurship

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ด้านการสร้างภาพยนตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์ การถ่ายภาพนิ่ง และการออกแบบนิเทศศิลป์ ได้แก่
1. ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director)
2. ผู้กำกับภาพ (Director of Photography)
3. นักถ่ายภาพยนตร์ (Cinematographer / Camera Operator)
4. ผู้ออกแบบการสร้าง (Production Designer)
5. ผู้บันทึกเสียงการถ่ายทำ (Production Sound Recordist)
6. นักลำดับภาพ (Film Editor)
7. ผู้ผลิตแอนิเมชัน และศิลปะดิจิทัล (Animator and Digital Artist)
8. นักถ่ายภาพนิ่ง (Still Photographer)
9. นักออกแบบนิเทศศิลป์ (Communication Arts Designer)
10. ทีมงานผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ (Television Production Crew)
11. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
12. นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer)
13. นักวาดภาพประกอบ (Illustrator)
14. นักออกแบบสื่ออินเทอร์แอคทีฟ (Interactive Multimedia Designer)
15. นักออกแบบโฆษณา (Advertising Creative Designer)
16. นักออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer)
17. ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ (Publication Designer)
18. นักตกแต่งภาพ (Retouch Artist)
19. ผู้กำกับศิลป์ (Art Director / Stylist)
20. ผู้ดูแลการผลิตสื่อภาพนิ่ง (Photography Production Producer)
21. ภัณฑารักษ์ (Curator)
22. นักออกแบบฉาก (Set Designer)
23. นักออกแบบสื่อ (Media Designer)
24. นักวิชาการและนักวิจัยสร้างสรรค์ (Academic and Creative Researcher)
25. อาจารย์ (Instructor)
26. นักวิจารณ์ภาพยนตร์ (Film Critic)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

-เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกำหนดต่างๆ เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก.)
-สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น
-ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2560
-ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของสถาบัน

course-download