คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มีความเป็นมาเริ่มต้นจาก “โรงเรียนช่าง บ.ส.อ.” ในการอำนวยการของบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2497 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยุบเลิกบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา ( บ.ส.อ.) โรงเรียนจึงถูกยุบเลิกไปด้วย แต่ความต้องการสถานที่เรียนต่อสำหรับนักเรียนที่จบหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษา ชั้นสูงจำนวนมากทำให้เกิด “ โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง ” ขึ้นเพื่อผลิตช่างไทยที่มีความสามารถ ปฏิบัติงานก่อสร้างได้อย่างจริงจัง โดยกรมโยธาธิการได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดทำการสอน เมื่อ 9 สิงหาคม 2499 หลักสูตร 2 ปี มีแผนกช่างก่อสร้างเพียงแผนกเดียว
ต่อมากรมโยธาธิการได้ถูกยุบไปรวมกับกรมโยธาเทศบาล ทำให้โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง กลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีก อาจารย์ประสม รังสิโรจน (ศาสตราจารย์)ซึ่งได้รับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ตั้งแต่ปี 2505 ได้ปรับปรุงหลักสูตรยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิค โดยได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ขณะนั้น ขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ” (College of Design & Construction) เมื่อ 26 เมษายน 2506 ใช้อาคารสถานที่ ณ ตำบลบางพลัด จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) เปิดการสอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาวิศวสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน, สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์, สาขาวิชาวิศวกรรมการทาง, สาขาวิชาวิศวกรรมการสำรวจ, รับนักศึกษาที่จบมัธยมศึกษาปีทื่ 5 สายสามัญผ่านการสอบคัดเลือกของสภาการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตร 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เริ่มแรกมีสถาปนิกที่เป็นอาจารย์ประจำอยู่ก่อน ปี 2506 จำนวน 3 ท่าน
อาจารย์จันทรา สุวินทวงศ์
อาจารย์กำแหง ฟักน้อย
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์)
อาจารย์อรวรรณ สีมานนท์ปริญญา
มีอาจารย์ประสม รังสิโรจน เป็นผู้อำนวยการ
ปี พ.ศ. 2506
อาจารย์ประสมได้ขอโอน อาจารย์ สุภา ผาสุข (ผู้ช่วยศาสตราจารย์)
มาเป็นอาจารย์ประจำทำการสอนและช่วยงานด้านบริหาร
ปี พ.ศ. 2507
มีอาจารย์ใหม่เพิ่มขึ้น 4 ท่าน คือ อาจารย์ วิวัฒน์ เตมียพันธ์ รองศาสตราจารย์)
อาจารย์ เทียนชัย สระตันติ์ อาจารย์ กิตติ ทิพยประสิทธิ์ อาจารย์ วิชัย บุณยมาลิก
ปี พ.ศ. 2508
อาจารย์ วิเชียร สุวรรณรัตน์ (รศ.)
อาจารย์ ปรัชญา ฉกาจทรงศักดิ์ (รศ.)
อาจารย์ สุปรีชา หิรัญโร (รศ.)
อาจารย ม.ร.ว.พีระเดช จักรพันธุ์ (รศ.)
อาจารย นวลจันทร์ ทองไถ้ผา
อาจารย์ ฉัตรไชย คทวณิช (รศ.)
อาจารย์ มณี พนิชการ
อาจารย์ สุภณัฐ นิลรัตน (ผศ.)
อาจารย์ สุรัตน์ รุ่งเต่า
อาจารย์ ประลอง พีรานนท์ (รศ.)
อาจารย์ ประศาสน์ คุณะดิลก (รศ.)
อาจารย์ สัตยา ชุ่มสุวรรณ
อาจารย์ สมศักดิ์ ปรียวนิตย์ (ผศ.)
อาจารย์ แดง เหรียญสุวรรณ (ผศ.)
อาจารย์ สมศักดิ์ แย้มพราย (ผศ.)
อาจารย์ ดลฤดี บุญนาค
อาจารย์ ผุสดี สุจริตตานนท์
อาจารย์ คงเดช หุ่นผดุงรัตน์
อาจารย์ เดชา วราชุน (รศ.)
อาจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (รศ.)
อาจารย์ ปิยวัฒน์ มังกรวงษ์
อาจารย์ สมเกียรติ ไตรพันธุ์ (ผศ.)
อาจารย์สอนวิชาสามัญ
อาจารย์ ไพรัตน์ วงษ์รุ่ง (ฟักน้อย)
อาจารย์ ระพี โสมภูติ
อาจารย์ อัจฉรา ศรีสุเทพ (สืบสินธุ์สกุลไชย)
อาจารย์ ศิวลี สระตันติ์
อาจารย์ องุ่น อัศเวทย์
อาจารย์ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (รศ.)
อาจารย์ สุพร พบสุข
อาจารย์ เครือวัลย์ ศีตะจิตต์ (ผศ.)
อาจารย์ พรชัย เจนจิระพงษ์เวช
อาจารย์ หัทยา เชี่ยววัฒกี
อาจารย์ เสาวภาคย์ ธรมธัช (ลดาวัลย์ ผศ.)
อาจารย์ สุธาทิพย์ นาคศิริ
อาจารย์ วนิดา ธูปะเตมีย์ (รศ. คุณหญิง)
อาจารย์ ชัยรัตน์ อิศรัตน์
อาจารย์ โอวาท พูลศิริ
อาจารย์ ขวัญใจ สนั่นวาณิชย์
อาจารย์ จินตนา กลัดอ่ำ
อาจารย์ สุขุมาลย์ มานะพงษ์ (นิลรัตน์ ผศ.)
อาจารย์ เฉลิมศรี ปรีชาพานิช (ผศ.)
อาจารย์ ดาวมณี รัศมีเจริญ
อาจารย์ กุลวดี สายศรีหยุด
ในการปรับปรุงหลักสูตรและดำเนินการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์พิเศษจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานอื่นเช่น สำนักผังเมือง เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาและช่วยสอน ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.นิวัตต์ ดารานันทน์
ศาสตราจารย์ เรืองศักดิ์ กันตะบุตร
ศาสตราจารย์ ศุกรี กัมปนานนท์
อาจารย์ ชัยยา พูนศิริวงศ์
คุณหลวง ชลานุสสร
พ.ต.หญิงจิตรา ชูจินดา
อาจารย์ อภัย ผะเดิมชิด
ปี พ.ศ. 2511
กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้ย้ายสถานศึกษามาอยู่ที่ลาดกระบัง ในที่ดินที่ทายาทเจ้าคุณทหารบริจาคให้กระทรวงศึกษาธิการ เพราะสถานที่ของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างที่บางพลัดคับแคบ ไม่อาจขยายตัวได้วิทยาลัยไดัรับงบประมาณทำการก่อสร้างอาคารที่ลาดกระบังใน เนื้อที่ 80 ไร่เศษ เสร็จและย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบังเมื่อ ตุลาคม 2514 ในปีนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 14 (7) แห่งพ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง เห็นว่าเป็นสถานศึกษาที่จะจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้ จึงมีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2514 ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างเข้าสมทบในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2516 เป็นต้นไป ( ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องให้วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างรวมเข้ากับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2515)
ขั้นแรกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลักสูตร 3 ปี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ และศิลปอุตสาหกรรม รับนักศึกษาที่จบ ม.ศ. 5 สายสามัญ ผ่านการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ร่วมกับสถาบัน เพื่อผลิตช่างเทคนิคหรือผู้ช่วยสถาปนิก ผู้ช่วยมัณฑนากร และผู้ช่วยนักออกแบบ และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี หลังจากได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญาในสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อแล้ว โดยต้องผ่านการสอบคัดเลือกของสถาบันก่อน ปีการศึกษา 2517 ได้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จึงให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ในระยะตั้งแต่ปี 2516
และต่อมามีอาจารย์มากขึ้นทั้งเข้าใหม่และย้ายมาจากที่อื่น
อาจารย์ สมลักษณ์ อัศวเหม (รศ.)
อาจารย์ ธีรมน ไวโรจนกิจ (ผศ.)
อาจารย์ กมล คล่องพิทยาพงษ์
อาจารย์ ม.ล.วรยส ลดาวัลย์
อาจารย์ เกษม บุญสวน
อาจารย์ ลัดดา เตชะวณิช (บุญสวน)
อาจารย์ กอบกุล อินทรวิจิตร (ผศ.)
อาจารย์ สมเกียรติ์ โล่ห์เพ็ชรัตน์
อาจารย์ จามร รักการดี (ผศ.)
อาจารย์ ป้อมชัย คุณะดิลก
อาจารย์ นิกตร์ นาคนิธิ
อาจารย์ พันธุ์ชาย เสือวรรณศรี ( ผศ.)
อาจารย์ กุสุมา นิลวิเศษ (ธรรมธำรง ผศ.)
อาจารย์ นิรมล รัตนวิจัย (แย้มพราย ผศ.)
อาจารย์ กุลธร เลื่อนฉวี
อาจารย์ ยุพดี เลื่อนฉวี
อาจารย์ พิลาส สุภัณวงษ์ (ผศ.)
อาจารย์ พิศิษฐ์ วิริยวัฒน์
อาจารย์ เอกพงษ์ จุลเสนีย์ (ผศ.)
อาจารย์ นันทนา สุวรรณมาลิก (ศิระประภาศิริ)
สำหรับอาจารย์ที่สอนวิชาสามัญ ได้แยกไปสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะขึ้นใหม่ ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2520
ต่อมาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับนักศึกษาที่จบ ม.ศ. 5 ผ่านการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยหลักสูตร 5 ปี เปิดการสอนแบ่งเป็น
ระดับปริญญาตรีประกอบด้วย
-ภาควิชาสถาปัตยกรรม
-ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน
-ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม
-เพิ่มภาควิชาเทคโนโลยีการก่อสร้างปี 2521-2529 หลักสูตร 4 ปี (ภายหลังย้ายไปสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์)
-ภาควิชานิเทศศิลป์ ปี 2526 หลักสูตร 4 ปี
-ภาควิชาวิจิตรศิลป์ ปี 2536 หลักสูตร 4 ปี (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2538)
ระดับปริญญาโทประกอบด้วย
-สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน ปี 2532
-สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ปี 2533
-สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
ปี 2529 และจัดตั้งภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง
ปี 2536 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2537)
-สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
-สาขาวิชาทัศนศิลป์
ระดับปริญญาเอกประกอบด้วย
-สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ปี 2544
-สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ) ปี 2548
รายนามอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการและคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบันมีดังนี้
-2497 นายนาค เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่าง บ.ส.อ.
-2500 พ.อ.อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง และนายกาญจน์ เฮงสุวนิชย์
ผู้อำนวยการโรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง
-2502 นายเพี้ยน สมบัติเปี่ยม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง
-2503 ดร.แนม บุญสิทธิ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง
-2504 นายจรัญ สมชนะ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง
-2505 นายประสม รังสิโรจน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง
-2506 นายประสม รังสิโรจน ผู้อำนวยการวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง
คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
-ปัจจุบัน ผศ. ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี
-2556 ผศ. พิเชษฐ โสวิทยสกุล
-2552 รศ. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล
-2548 ผศ. นพปฎล สุวัจนานนท์
-2544 รศ. กุลธร เลื่อนฉวี
-2540 ผศ.เอกพงษ์ จุลเสนีย์
-2538 รศ.วิเชียร สุวรรณรัตน์
-2530 อาจารย์พิศิษฐ์ วิริยวัฒน์
-2526 รศ.สมลักษณ์ อัศวเหม
-2522 รศ.ม.ร.ว.พีระเดช จักรพันธุ์
-2515 ศาสตราจารย์ประสม รังสิโรจน