หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Film and Digital Media

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Fine and Applied Arts (Film and Digital Media)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.บ. (ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Film and Digital Media)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  123 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิค
กลุ่มวิชาที่กำหนดโดยคณะ 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 27 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ 51 หน่วยกิต
-บังคับเรียน 33 หน่วยกิต
-เลือกแขนงวิชา 18 หน่วยกิต
แขนงวิชาภาพยนตร์ หรือ แขนงวิชาดิจิทัล มีเดีย
กลุ่มวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
บูรณาการความรู้และทักษะทางศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดียอย่างมีจรรยาบรรณสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล

ความสำคัญ
เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ ซึ่งบูรณาการความรู้ทางด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย โดยการเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง พร้อมทั้งปลูกฝังด้านจริยธรรมมุ่งให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะครบวงจรเพื่อพัฒนาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมดิจิทัลได้

วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตบัณฑิตด้านภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย ให้มีความรู้และทักษะด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถผลิตสื่อดิจิทัลได้ในระดับอุตสาหกรรม
-ปลูกฝังด้านคุณธรรม ศีลธรรมและศิลปวัฒนธรรมต่อบัณฑิต เพื่อเป็นผู้ผลิตสื่อที่มีจรรยาบรรณ และสร้างสรรค์งานที่มีประโยชน์ต่อสังคม
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านธุรกิจ มีความสามารถรอบด้าน ทำงานได้อย่างครบวงจรนำไปสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการรายย่อย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้กำกับการแสดง
(2) ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
(3) ผู้ออกแบบงานสร้างและผู้กำกับศิลป์ภาพยนตร์
(4) นักเขียนบทภาพยนตร์
(5) ผู้ลำดับภาพในภาพยนตร์
(6) ผู้ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน
(7) ผู้ออกแบบเสียงในภาพยนตร์
(8) นักแสดง
(9) ผู้ออกแบบเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์
(10) ผู้จัดการกองถ่าย
(11) ตากล้อง ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์หรือผู้กำกับภาพ
(12) ผู้ผลิตงานดิจิทัล มีเดีย
(13) ผู้ออกแบบงานวิชวลเอฟเฟกต์
(14) ผู้ประกอบการอิสระด้านภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบัน

course-download