หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Architecture Program in Architecture
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรมหลัก)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Architecture (Architecture)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.บ. (สถาปัตยกรรมหลัก)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Arch. (Architecture)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสถาปัตยกรรมศาสตร์ สภาสถาปนิก ได้กำหนดวิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตรไว้ 5 ด้าน ได้แก่
(1) องค์ความรู้ด้านทฤษฎีและการออกแบบ
(2) องค์ความรู้ด้านการปฏิบัติวิชาชีพ จรรยาบรรณทางวิชาชีพ
(3) องค์ความรู้ด้านสภาพแวดล้อม ภูมิสังคมและวัฒนธรรม
(4) องค์ความรู้ด้านการก่อสร้าง
(5) องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี
รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 174 หน่วยกิต
โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2557) | |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษา | 12 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559) | |
กลุ่มวิชาคุณค่าแห่งชีวิต | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิถีแห่งสังคม | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาศาสตร์แห่งความคิด | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาศิลปะแห่งการจัดการ | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร | 12 หน่วยกิต |
เลือกเรียนได้จากทั้ง 5 กลุ่ม | 3 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 138 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาหลักสาขา | 67 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาพื้นฐาน | 15 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเทคโนโลยี | 36 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสนับสนุนสาขา | 20 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคสนาม | S/U |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการสู่การปฏิบัติ ตระหนักในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ความสำคัญ
สถาปัตยกรรม เป็นศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังอาคารเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพของอาคาร ส่วนประกอบอาคาร และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับอาคารหรือการอนุรักษ์อาคาร ที่สามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตสภาพแวดล้อม สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ยั่งยืน สามารถบูรณาการ สหวิทยาที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน เน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการ เพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดี มีความทันสมัย พร้อมกับสืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับมวลมนุษย์


วัตถุประสงค์
-เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติและเป็นผู้มีปัญญา มีความอดทนและสู้งานหนัก มีความรอบรู้และรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ คิดเป็น ทำเป็น ควบคู่กับจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตระหนักถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ไปปฏิบัติวิชาชีพ “สถาปัตยกรรมหลัก” สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและการพัฒนาประเทศ สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
-ส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยสถาปัตยกรรม ด้วยวิธีคิดตามหลักตรรกะและความคิดเชิงวิพากษ์ สนับสนุนให้นักศึกษาค้นพบความสามารถเฉพาะทางสถาปัตยกรรมของตนเองเพื่อพัฒนาไปสู่ภูมิปัญญาสูงสุดของแต่ละบุคคล มีความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานความเหมาะสมตามหลักการและจรรยาบรรณทั้งทางวิชาการและวิชาชีพได้ทัดเทียมกับอารยประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
-ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาและอาจารย์ในหลักสูตรให้บริการวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมสู่สังคมและชุมชน ถูกต้องตามหลักวิชาชีพและวิชาการ โดยคำนึงถึงความต้องการของชุมชนและสังคม เน้นการมีส่วนร่วม การให้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมส่วนรวม
-ส่งเสริมให้เกิดงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทย โดยคำนึงถึงภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย ควบคู่ไปกับการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-เพื่อพัฒนาแนวทางการศึกษาเน้นหนักไปทางสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี เพื่อสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม เศรษฐกิจ ความต้องการของตลาด การลงทุน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ให้ตอบสนองความต้องการของมวลชนในสังคมได้อย่างดีและถูกต้อง นักศึกษาจะได้รับความรู้ ความชำนาญทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ จากการฝึกงานในห้องปฏิบัติการ โรงประลอง ปฏิบัติการในสนาม และเพิ่มทางเลือกจากประสบการณ์ของการปฏิบัติวิชาชีพในรูปของสหกิจศึกษา รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้จากการออกทัศนศึกษาภาคสนามและกิจกรรมด้านวิชาการ
-เพื่อปรับปรุงให้เกิดกระบวนการคิด ทั้งภาคทฤษฏีลงสู่การปฏิบัติในลักษณะบูรณาการความรู้จากหลายวิชามาผนวกกัน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหา พร้อมที่จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพ มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและประกอบวิชาชีพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
-เพื่อประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 มิติ ได้แก่ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ในการจัดการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างสถาปนิกที่มีจิตสาธารณะและมีความสุขในการดำรงชีวิตในสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) สถาปนิก
(2) นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ , ผู้รับเหมาก่อสร้างอิสระ , ผู้ประกอบการค้าวัสดุก่อสร้าง
(3) บุคลากรในบริษัทที่ปรึกษาโครงการและบริษัทบริหารงานโครงการก่อสร้าง
(4) บุคลากรทางการศึกษาในด้านสถาปัตยกรรม และในหน่วยงานราชการด้านสถาปัตยกรรมและงานโยธา
(5) ผู้ประกอบการด้านออกแบบต่างๆ เช่น ตกแต่งภายใน , การจัดภูมิทัศน์ , ออกแบบอื่นๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการสอบคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบัน
