หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Architecture Program in Interior Architecture

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Architecture (Interior Architecture)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.ม. (สถาปัตยกรรมภายใน)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Arch. (Interior)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน มุ่งผลิตสถาปนิกทางสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ขั้นสูง ที่มีความรู้ ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนาไปสู่การสร้างแนวคิดในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมภายใน และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมภายในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในเน้นผลิตสถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ขั้นสูง ให้มี ความสามารถด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ เพื่อนาไปสู่การออกแบบ การพัฒนาองค์ความรู้หรือต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายใน และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน การใช้เทคโนโลยีช่วยในการทาผลงานและการสืบค้นข้อมูล เพื่อการพัฒนางานด้านวิจัยและออกแบบให้ก้าวหน้าสู่ระดับสากล

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 37 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 37 หน่วยกิต
แผน ข 37 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 37 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 37 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาบังคับ S/U
แบบ ก แบบ ก 2 37 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 16 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข 37 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 16 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
ง. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน S/U

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน เน้นผลิตสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์ ให้มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ เพื่อนำไปสู่การออกแบบ การพัฒนาองค์ความรู้หรือต่อยอดนวัติกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายใน และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน การใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำผลงานและสืบค้นข้อมูล เพื่อการพัฒนางานด้านวิจัยและออกแบบให้ก้าวหน้าสู่ระดับสากล

ความสำคัญ
เนื่องจากวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ในปัจจุบัน เป็นวิชาชีพหนึ่ง ที่จะได้รับผลกระทบจากการค่าเสรี จึทำให้การพัฒนานักออกแบบ สถาปนิกถายในขั้นสูง มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะสามารถสร้างโอกาสในการแข่งขันให้แก่สถาปนิกในสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ กับต่างประเทศประกอบกับสถานการณ์ในวงการออกแบบและก่อสร้างมีความจำเป็นในการขยายขอบเขตความรู้และทักษะขั้นสูงการออกแบบเพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี

วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตสถาปนิกสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ให้สามารถทำงานด้านวิจัยควบคู่ไปกับการออกแบบอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีความคิดสร้างสรรค์อบู่บนพื้นฐานของความจริง โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาด้านองค์ความรู้สู่การออกแบบ
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตระหนักในบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ ของตนต่อสังคม ทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. สถาปนิกในสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
2. ที่ปรึกษาโครงการออกแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน
3. ผู้บริหารโครงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายใน
4. ผู้รับงานก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน
5. นักวิจัย ด้านสภาพแวดล้อมภายใน
6. นักวิชาการ ด้านสถาปัตยกรรมภายใน
7. สถาปนิก หรือนักออกแบบต่างๆ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชา สถาปัตยกรรมภายใน การออกแบบภายใน สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม การออกแบบผังเมือง หรือ การ ออกแบบอื่นๆ โดยได้รับวุฒิการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
2. กาลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ใน สาขาวิชา สถาปัตยกรรมภายใน การออกแบบภายใน สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม การออกแบบผังเมือง หรือ การออกแบบอื่นๆ โดยได้รับวุฒิการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
3. สาหรับผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษา หรือกาลังศึกษา ในสาขาวิชา สถาปัตยกรรมภายใน การ ออกแบบภายใน จะต้องเรียนวิชาในกลุ่มวิชาปรับพื้นฐาน โดยไม่คิดรวมหน่วยกิตใน หลักสูตร 2.2.4 ให้เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก.)

course-download