หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Multidisciplinary Design Research

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Multidisciplinary Design Research)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (สหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Multidisciplinary Design Research)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัยการออกแบบ เทคนิคการวิจัยเพื่อการ
ออกแบบ กระบวนทัศน์การวิจัยเพื่อการออกแบบ

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 60 หน่วยกิต
(ผู้เข้าศึกษาสาเร็จปริญญาโท จะต้องทาวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต)
แบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาสาเร็จปริญญาโท) 60 หน่วยกิต
(ผู้เข้าศึกษาสาเร็จปริญญาโท จะต้องทาวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชา อีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 60 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ – หน่วยกิต
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากาหนดให้(ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U) – หน่วยกิต
ง. หมวดวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาสาเร็จปริญญาโท) 60 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ 12 หน่วยกิต
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากาหนดให้(ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U) – หน่วยกิต
ง. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
ศึกษาการบูรณาการความเข้าใจในหลักการวิจัยเชิงประจักษ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อ ใช้ผลลัพธ์สำหรับการออกแบบทางกายภาพ และเทคนิควิธีการออกแบบ รวมทั้งการเรียนการสอน การออกแบบสมัยใหม่ ทฤษฎีสมัยใหม่ในการออกแบบ ระเบียบวิธีการวิจัย เทคนิคการวิจัย และปรัชญาการออกแบบ ศึกษาการวางผังเมือง สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อนาไปใช้ในการสอนการออกแบบสาหรับระดับอุดมศึกษา โดยเน้นการตอบสนองต่อการรับรู้ของผู้ใช้ด้านจิตวิทยาสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ และความยั่งยืนทางระบบนิเวศที่สัมพันธ์ กับความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเข้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อันจะนาให้เกิดการพัฒนาด้านการออกแบบในระดับชาติอย่างยั่งยืน

ความสำคัญ
องค์ความรู้ด้านการออกแบบเกิดจากผลของการวิจัย เช่นเดียวกับศาสตร์ในสาขาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดังนั้นกระบวนการและระเบียบวิธีการวิจัย จึงนับว่ามีความสาคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหรับบุคลากรด้านการศึกษาตลอดจนนักวิชาชีพที่ทาหน้าที่อธิบายงานออกแบบ ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นการเรียนการสอนสาหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่แบบบูรณาการและมีผลเชิงประจักษ์เชิงนวัตกรรม เพื่อต่อยอดความรู้เดิมที่เป็นภูมิปัญญาของประเทศ

วัตถุประสงค์

-เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการวิจัยออกแบบเชิงประจักษ์ (Empirical Research) ที่มีขีดความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญตามปรัชญาของหลักสูตร มีทักษะในการทาวิจัย ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์และทฤษฎีด้านการวิจัยเพื่อการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
– เพื่อสนับสนุนให้มีการวิจัยในสาขาวิชาการออกแบบศึกษาและการวิจัยเพื่อการออกแบบเพื่อตอบสนองต่อทฤษฎีสมัยใหม่ ในสาระอันจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและสังคมโดยทั่วไป
-เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและให้บริการด้านสาขาวิชาการออกแบบ และการวิจัยเพื่อการออกแบบต่อสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

1. อาจารย์ในระดับอุดมศึกษาทั้งในภาครัฐและเอกชน
2. นักวิจัยในระดับอุตสาหกรรมและองค์กรเพื่อพัฒนาการออกแบบ
3. นักวิชาการในบริษัทที่ปรึกษา และนักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ
4. นักวิจัยอิสระ

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม ผังเมือง วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้กรณีสาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท นอกเหนือจากสาขาวิชาที่กาหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

course-download