หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine Arts Program in Visual Arts

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Fine Arts Program in Visual Arts
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.ม. (ทัศนศิลป์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.F.A (Visual Arts)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 8 วิชาเอก คือ 1) จิตรกรรม 2) ประติมากรรม 3) ภาพพิมพ์ 4) ภาพถ่าย 5) สื่อผสม 6) ศิลปะคอมพิวเตอร์ 7) ศิลปะวีดิทัศน์ 8) ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2 45 หน่วยกิต
แผน 2 39 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2 45 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6 (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข 39 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงด้วยสื่อทัศนศิลป์ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในด้านศิลปะร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพเท่าเทียมในระดับสากลเพื่อทำให้ตอบโจทย์กับทิศทางของภาควิชาในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำการศึกษาศิลปะในอนาคต อาทิเช่น ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีการสร้างอาชีพที่สามารถช่วยเหลือตนเอง และช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

ความสาคัญ

เป็นหลักสูตรที่เน้นความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสร้างผลงานทัศนศิลป์ในระดับสูงแบบมืออาชีพและอยู่ในขอบเขตของความเป็นศิลปะร่วมสมัย ตลอดจนสามารถบูรณาการหรือประยุกต์ใช้งานทัศนศิลป์เข้าไปสู่ศาสตร์อื่น ๆ เพื่อพัฒนาให้เกิดการสร้างอาชีพและเกิดรายได้ที่ทำให้เกิดความมั่นคงแก่นักศึกษาในอนาคต

วัตถุประสงค์

1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนมีความเชี่ยวชาญในงานทัศนศิลป์แบบมืออาชีพ
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาสิ่งใหม่ จากการศึกษาศิลปะร่วมสมัยด้วยสื่อทัศนศิลป์
3. ผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการและนำสื่อทัศนศิลป์ไปประยุกต์ใช้กับสื่ออื่นในสาขาอาชีพที่มีความแตกต่างกัน
4. ผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปกรรมที่ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และยกระดับจิตใจคนในชาติให้สูงขึ้นด้วยงานศิลปะ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

1) อาจารย์ นักวิชาการ และนักจัดการทางด้านศิลปกรรม
2) ศิลปินอิสระที่เชี่ยวชาญในวิชาเอกของตนเอง
3) ฝ่ายศิลปกรรมในทุกองค์กรทั้งบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐบาล
4) สามารถผลิตผลงานศิลปะให้ตอบโจทย์กับอาชีพในปัจจุบัน ในลักษณะงานออกแบบสิ่งสวยงาม งานตกแต่งอาคารหรือสถานที่ ตลอดจนงานสื่อมีเดียสมัยใหม่ในปัจจุบัน

 

คุณสมบัติของผูเขาศึกษา

เป็นผู้สาเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกาหนดต่างๆ เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันว่า ด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก.)

course-download