หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Architecture Program in Interior Architecture
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Architecture ( Interior Architecture )
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.บ. (สถาปัตยกรรมภายใน)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Arch. (Interior Architecture)
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
สถาปัตยกรรมภายใน

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 163 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
กลุ่มทักษะส่งเสริมอัตลักษณ์สถาบันฯ | 9 หน่วยกิต |
กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเลือกหมวดวิชาชีพทั่วไป | 12 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 133 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาหลัก | 52 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเทคโนโลยี | 21 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสนับสนุน | 30 หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการทางสถาปัตยกรรมภายใน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 นักศึกษาทุกคนจะต้องออกฝึกปฏิบัติงานในสายวิชาชีพ ตามสถานประกอบการภาครัฐหรือเอกชน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 360 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าหน่วยกิต และจะต้องได้รับการรับรองและประเมินผลในสมุดฝึกงานจากหัวหน้างานหรือผู้รับผิดชอบของ สถานประกอบการนั้นนั้น นักศึกษาผู้ใดที่ไม่ผ่านการฝึกงานหรือการประเมินผลการฝึกงาน จะถือว่าการศึกษาไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักสูตร
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในการสร้างสรรค์ และการจัดการงานสถาปัตยกรรมภายในที่เกิดจากการบูรณาการ ความเข้าใจในพฤติกรรม ศิลปะและวัฒนธรรมของผู้ใช้อาคาร ลักษณะของเทคโนโลยีการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน และมีสุนทรีภาพในการออกแบบ รวมทั้งยังสามารถจัดการบริหารงานออกแบบให้สาเร็จลุล่วงได้ตามเวลาที่กาหนด นอกจากนี้บัณฑิตจะต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
จากปรัชญาที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่าบัณฑิตจะต้องเป็นผู้มีความรู้และทักษะในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน และมีความสามารถในการบริหารจัดการ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และมีคุณธรรม
ความสำคัญ
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน) เป็นหลักสูตรที่สาคัญเนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตสาขาสถาปัตยกรรมภายในซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของการประกอบวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมควบคุม ตาม มาตรา 8(3) แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543
บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคารประเภทต่างๆ ที่นอกจากจะมีความงามทางสุนทรียศาสตร์ ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมความต้องการ ศิลปวัฒนธรรม และลักษณะทางกายภาพของอาคาร นอกจากนั้นยังสามารถทำงานร่วมกับสถาปนิกในสาขาต่างๆ รวมถึงนักออกแบบอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บัณฑิตยังมีความสามารถในการบริหารจัดการงานออกแบบ และก่อสร้างสถาปัตยกรรมภายใน ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการการออกแบบของประเทศไทย อันเนื่องมาจากการเติบโตทางด้านธุรกิจการก่อสร้างทั้งภายใน และระหว่างประเทศ


วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของสภาพเศรษฐกิจและ สังคมโดยเป็นบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิชาการและมีมาตรฐานที่ดีในการประกอบวิชาชีพสถาปนิกภายใน
-เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะเพื่อไปประกอบวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ จากหลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยการรับรองปริญญาอนุปริญญาและประกาศนียบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขา สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ พ.ศ.2553
-เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ที่มีพื้นฐานทางสุนทรียศาสตร์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติโดยสามารถใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยหลักการคิดที่เชื่อมโยงเป็นระบบ รวมถึงยังสามารถทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน อาทิ เช่น การบริหารการออกแบบ การบริหารการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน เป็นต้น
-เพื่อปลูกฝังบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติและศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งแนวคิดอันเป็นสากล และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมภายใน
-เพื่อปลูกฝังบัณฑิตให้มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรม จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในมาตรฐานวิชาชีพ ต่อสังคมส่วนรวม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑณศิลป์ตาม พ.ร.บ.สภาสถาปนิก พ.ศ. 2543
(2) ผู้บริหารโครงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายใน
(3) ผู้บริหารโครงการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน
(4) ผู้ก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน
(5) นักออกแบบในสาขาอาชีพอื่น ๆ เช่น นักออกแบบกราฟฟิค นักออกแบบนิทรรศการ เป็นต้น


คุณสมบัติของผู้เขาศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก ตามข้อบังคับของสถาบัน