หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctoral of Philosophy Program in Environmental Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบสภาพแวดล้อม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctoral of Philosophy (Environmental Design)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (การออกแบบสภาพแวดล้อม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Environmental Design)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักทฤษฎีและกระบวนทัศน์ในการวิจัยเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน ระเบียบวิธีวิจัย พฤติกรรมมนุษย์ และสภาพแวดล้อม และเทคนิคการวิจัยเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผนการศึกษาที่ 1
แบบ 1.1 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 72 หน่วยกิต

แผนการศึกษาที่ 2
แบบ 2.1 60 หน่วยกิต
แบบ 2.2 72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

 

แผนการศึกษาแบบที่ 1: เน้นการทำวิทยานิพนธ์เป็นหลัก (By Dissertation)
แบบ 1.1 48 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนดให้ (ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U)
ง. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 72 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนดให้ (ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U)
ง. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
แผนการศึกษาแบบที่ 2: เน้นหลักสูตรวิชาเรียน (Course Work) และการทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 60 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ 12 หน่วยกิต
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนดให้ (ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U)
ง. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แบบ 2.2 72 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ 12 หน่วยกิต
ค. วิชาเฉพาะทางที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนดให้ (ไม่นับหน่วยกิต ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S/U)
ง. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
หลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตงานวิจัย และผลงานการออกแบบที่แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการออกแบบสภาพแวดล้อม อันเนื่องมาจากความซับซ้อนของพฤติกรรมมนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ บริบททางสังคม และวัฒนธรรม เทคโนโลยี รวมถึงสภาพทางเศรษฐกิจ ด้วยการผสานศาสตร์ และระเบียบวิธีการวิจัยในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยหลักสูตรเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ โดยนำเอาความรู้จากหลายศาสตร์ หรือหลายอนุศาสตร์เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการออกแบบจนกระทั่งผู้เรียนสามารถพัฒนาองค์ความรู้เป็นศาสตร์ใหม่ หรืออนุศาสตร์ใหม่ โดยศาสตร์ และอนุศาสตร์ประกอบด้วย สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน จิตวิทยาสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์อาคาร การอนุรักพลังงาน เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม การบริหารการออกแบบและทรัพยากรในอาคาร การตลาด เศรษฐกิจ ผังเมือง วัฒนธรรม และสังคม เป็นต้น

ความสำคัญ
การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยะประเทศจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่เพียงพอ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์การออกแบบสภาพแวดล้อมให้ดีเหมาะสมกับผู้ใช้งาน หลักสูตรฯ เล็งเห็นความสำคัญในการนำเอาปัญหาด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นมาเป็นเป้าหมาย และใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา และเห็นผลเชิงประจักษ์เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมใหม่ที่ต่อยอดองค์ความรู้เดิม

วัตถุประสงค์
1) เพื่อผลิตสถาปนิก สถาปนิกภายใน นักวิจัย และอาจารย์ผู้สอนด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายในที่สามารถนำเอาองค์ความรู้ในการวิจัยเชิงประจักษ์จากการเรียนตามหลักสูตร มาใช้ในการแก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายในตามความต้องการ และความร่วมมือระหว่างสถาบัน และชุมชน
2) เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ งานวิจัย ทฤษฎี หรือนวัตกรรมด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพสูงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และสังคม ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
3) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน ให้เป็นที่รู้จัก และมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) สถาปนิก และสถาปนิกภายใน หรือนักออกแบบที่มีความรู้ขั้นสูงของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(2) นักวิจัยด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายในของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(3) อาจารย์ หรือนักวิชาการในระดับอุดมศึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายในของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ผังเมือง วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักศึกษาชาวต่างประเทศ ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาตรีนอกเหนือจากสาขาวิชาที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือประกาศนียบัตรชั้นสูง หรือผู้สมัครกำลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องเป็นผู้ได้ผลการเรียนเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือมีผลงานวิจัย/ผลงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายในเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง หรือมีแนวทางชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์ความรู้ที่สนใจ ในการทำงานวิจัยชั้นสูง หรือผู้สมัครจะต้องศึกษาในปีสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี ที่คาดว่าจะได้เกียรตินิยมอันดับ 1
หากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่น และไม่มีพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ต้องลงรายวิชาที่มีการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
4. ผู้สมัครที่แบ่งตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
แผนการศึกษาแบบที่ 1: เน้นการทำวิทยานิพนธ์เป็นหลัก (By Dissertation) ดังนี้
– แบบ 1.1 : วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท ที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์หรือความรู้ความสามารถขั้นสูงเฉพาะด้าน ที่ต้องการปรับคุณวุฒิ และต่อยอดองค์ความรู้ที่มี ในการพัฒนางานงานวิจัยชั้นสูง ซึ่งมีผลการเรียนเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป หรือมีประสบการณ์ทำงานหลังจบการศึกษาแล้วอย่างน้อย 2 ปี
– แบบ 1.2 : วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะต้องลงรายวิชาหมวดวิชาบังคับ หรือหมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ (ไม่นับหน่วยกิต) ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรฯ
แผนการศึกษาแบบที่ 2: เน้นหลักสูตรวิชาเรียน (Course Work) และการทำวิทยานิพนธ์ดังนี้
– แบบ 2.1 : รายวิชา 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมฐานองค์ความรู้และเรียนรู้จากหลักสูตร ในการพัฒนางานงานวิจัยชั้นสูง
– แบบ 2.2 : รายวิชา 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องลงรายวิชาหมวดวิชาบังคับ หรือหมวดวิชาทฤษฎีร่วมการออกแบบ (นับหน่วยกิต) ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรฯ

5. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากาหนด หรือมีผลการสอบเป็นไปตามประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา
6. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และเพิ่มเติม และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง (ภาคผนวก ก)

course-download