หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Communication Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นิเทศศิลป์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Fine and Applied Arts (Communication Design)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.บ. (นิเทศศิลป์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Communication Design)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

นิเทศศิลป์

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  127  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิค
กลุ่มวิชาที่กำหนดโดยคณะ 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 27 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ 58 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
พัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมทั้งความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการออกแบบทางนิเทศศิลป์ทั้งนี้เนื้อหาที่นำมาใช้ในการออกแบบต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผู้รับสาร รวมทั้งมีการผนวกการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และคำนึงถึงคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพ

ความสำคัญ
เป็นหลักสูตรที่ผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาการออกแบบสื่อเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าของวงการการออกแบบต้องการบุคลากรที่มีความพร้อมทั้งความคิดสร้างสรรค์ความรู้รอบตัวที่สอดคล้องกับสังคมและทักษะทางเทคโนโลยี หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการของศาสตร์ทางศิลปะ การออกแบบ และเทคโนโลยี อันจะเอื้ออำนวยให้นักศึกษาสร้างสรรค์งาน เพื่อรองรับการทำงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสาขาอาชีพและสังคม

วัตถุประสงค์
-เพื่อผลิตบัณฑิตด้านนิเทศศิลป์ให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านการออกแบบสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีในการออกแบบอย่างมีคุณภาพ
-เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสร้างเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ และหาวิธีนำเสนอที่น่าสนใจอันจะสามารถนำไปสร้างสรรค์สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-เพื่อผลิตบัณฑิตด้านนิเทศศิลป์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชาชีพเศรษฐกิจและสังคม
-เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัย สร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาการผลิตสื่อทางนิเทศศิลป์
-เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านนิเทศศิลป์สู่สังคม และดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) นักออกแบบกราฟฟิก
(2) นักออกแบบบรรจุภัณฑ์
(3) นักออกแบบภาพประกอบ
(4) นักออกแบบเว็บไซต์
(5) ผู้กำกับศิลป์
(6) นักออกแบบโฆษณา
(7) นักออกแบบสื่อสารการตลาด
(8) ผู้ประกอบการด้านออกแบบ
(9) บุคลากรทางการศึกษาในด้านการออกแบบ

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันฯ

course-download