หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of ArchitectureProgram in Tropical Architecture

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(สถาปัตยกรรมเขตร้อน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Architecture(Tropical Architecture)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเขตร้อน)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Arch.(Trop. Arch.)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ ในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่ตอบสนองกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรม โดยมีการศึกษาค้นคว้าให้เชี่ยวชาญ นําไปปฏิบัติได้ผลจริง ตามปรัชญาของหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน

วัน-เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต ค่าระดับคะแนนคิดเป็น S/U) – หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก (ไม่นับหน่วยกิต ค่าระดับคะแนนคิดเป็น S/U) – หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการออกแบบในสภาพแวดล้อมในภูมิอากาศแบบเขตร้อนเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรม โดยมีการศึกษาและค้นคว้าวิจัยให้รอบรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้สู่สากลได้อย่างถูกต้องร่วมสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและการพัฒนาประเทศ ปลูกจิตสํานึกให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพและเปิดโอกาสด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางสถาปัตยกรรม

ความสาคัญ
การออกแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อน เป็นการนําหลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในเขตร้อน แก้ไขปัญหาการใช้พลังงานในอาคารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทําลายทรัพยากร สอดคล้องกับเศรษฐกิจ และกฎหมายอาคาร สภาพแวดล้อม และข้อกําหนดส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปฎิบัติงานให้มีศักยภาพและทักษะที่ก้าวทันกับการเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน และเป็นผู้นําทางวิชาการด้านนี้ต่อไป

วัตถุประสงค์

– เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้า วิจัยในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของประเทศ
– เพื่อเผยแพร่และให้บริการความก้าวหน้าทางวิชาการ ในด้านเทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเขตร้อน แก่สังคมภายนอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาคเอกชน รัฐบาลและนานาประเทศ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

“ด้านการออกแบบ” สถาปนิก อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ในสาขาสถาปัตยกรรมหลักเชี่ยวชาญพิเศษด้านการออกแบบที่ตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศ
“ด้านวิชาการ” นักวิชาการ ข้าราชการ ที่ปรึกษา ผู้ตรวจสอบ ผู้ประเมินการใช้พลังงานในอาคารภาครัฐและเอกชน
“ด้านการอนุรักษ์” นักอนุรักษ์ นักออกแบบด้านสถาปัตยกรรมเขตร้อน สถาปัตยกรรมไทย และพื้นถิ่น
“ด้านเอกชน” ผู้ประกอบการด้านพลังงาน และผู้ประกอบการที่ต้องการปรับการใช้พลังงานในอาคาร

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

– เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2564 (ภาคผนวก ก.)
– สําเร็จการศึกษาหรือกําลังศึกษาปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ที่สภาสถาปนิกรับรอง
– สําเร็จการศึกษาหรือกําลังศึกษาปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษา สาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 4 ปี ครุศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ ก.พ .รับรอง และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพิจารณาโดยผ่านการเห็นชอบแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

course-download