หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Urban and Regional Planning Program in Urban and Environmental Planning

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Urban and Regional Planning (Urban and Environmental Planning)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ผ.ม. (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.U.R.P. (Urban and Environmental Planning)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 – 39 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 – 42 หน่วยกิต
แผน ข – 42 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 39 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 39 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาสัมมนา (เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 42 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือก6 6 หน่วยกิต
ง. หมวดวิชาสัมมนา (เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต
จ. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต) 9 หน่วยกิต
แผน ข 42 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาสัมมนา (เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต
ง. หมวดวิชาศึกษาอิสระ 6 หน่วยกิต
จ. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต) 9 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
การบูรณาการการศึกษา การหาความรู้และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเทคนิควิธีการวางแผน ทฤษฎีสมัยใหม่ในการวางแผน ปรัชญาการพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการชุมชนเมือง ทั้งในด้านสภาพเชิงกายภาพและเชิงคุณค่าของชุมชนเมือง เพื่อให้สามารถกําหนดนโยบายและแนวทางการจัดการเชิงพื้นที่ที่ตอบสนองความต้องการในระดับเมืองและชุมชน โดยเน้นความทัดเทียมและสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนา สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติทางด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่รวดเร็ว อันจะนําให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและก่อให้เกิดความยั่งยืน

ความสำคัญ
กระบวนการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับชาติและระดับโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางระบบเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมหากการพัฒนาเมืองขาดกระบวนการวางแผนอย่างมีระบบย่อมนํามาซึ่งปัญหาต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในเมืองและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ การสร้างความเข้าใจด้านทฤษฎีและปฏิบัติในการแก้ปัญหาและการจัดเตรียมเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างมีระบบ ย่อมมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทิศทางการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการอยู่อาศัย การเปลียนแปลงที่รวดเร็วและการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีคุณค่า เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมที่มีขีดความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญตามปรัชญาของหลักสูตร ด้านการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีจริยธรรมทางวิชาชีพในการมุ่งมั่นให้บริการแก่ชุมชน มีทักษะในการทําวิจัยมีทักษะด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์การวางแผนภาคและเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
2. เพื่อสนับสนุนให้มีการวิจัยในสาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม ในสาระอันจะป็นประโยชน์แก่การศึกษาและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและให้บริการด้านวิชาการในด้านการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมแก่สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

(1) ด้านการวางผังเมือง – นักผังเมือง นักวิเคราะห์โครงการและวางแผนพัฒนาเมือง ในหน่วยงานของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
(2) ด้านวิชาการ – อาจารย์ประจําในสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ที่ปรึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับการวางผังเมืองและการวางแผน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกําหนดต่าง ๆ เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก ก.)
2. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมผังเมืองการผังเมือง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้กรณีสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากสาขาวิชาที่กําหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

course-download