หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine and Applied Arts Program in Digital Media Design and Motion Pictures
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Fine and Applied Arts (Digital Media Design and Motion Pictures)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.ม. (สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.F.A. (Digital Media Design and Motion Pictures)
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
ด้านการภาพยนตร์ ด้านการออกแบบ และด้านการถ่ายภาพ



รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาโท
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน 1 แบบ 1.2 | 36 หน่วยกิต
แผน 2 | 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1 แบบ 1.2 | 36 หน่วยกิต |
ก. หมวดวิชาบังคับ | 15 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเลือก | 9 หน่วยกิค |
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต |
แผน 2 | ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต |
ก. หมวดวิชาบังคับ | 18 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเลือก | 12 หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ | 6 หน่วยกิต |
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
ผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะทางด้านวิชาการ การปฏิบัติทางนิเทศศิลป์ที่ผสมทั้ง 3 สาขา และมีความคิดสร้างสรรค์โดยมีอัตลักษณ์ของหลักสูตรคือ “ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัย และทํางานปฏิบัติได้จริงอย่างมีศิลปะ”


วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตนักศึกษาให้สามารถคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินผล โดยเชื่อมโยงความรู้ศาสตร์การออกแบบนิเทศศิลป์ การผลิตภาพยนตร์และการถ่ายภาพ นําไปสู่งานวิจัยด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะการผลิตงานออกแบบสื่อดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์
3. เพื่อผลิตนักศึกษาให้มีความเข้าใจระบบการวางแผนงาน เพื่อนําไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือเป็นผู้บริหารในองค์กรด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) ด้านผู้ผลิตสื่อ ได้แก่ นักออกแบบสื่อดิจิทัล เจ้าของกิจการด้านงานออกแบบสื่อ นักออกแบบนิเทศศิลป์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ผู้ผลิตแอนิเมชัน ผู้ผลิตงานภาพถ่าย
(2) ด้านวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านการออกแบบสื่อ นักวิจารณ์ภาพยนตร์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของ หลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกําหนดทุกประการเป็นไป ตามข้อบังคับของสถาบัน พ.ศ. 2565 (ภาคผนวก ก)
