หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Architecture Programme in Industrial Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบอุตสาหกรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Architecture (Industrial Design)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สถ.ม. (การออกแบบอุตสาหกรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M. Arch. (Industrial Design)

 

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

วัน-เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
ศาสตร์ของการออกแบบอุตสาหกรรมที่เน้นมุมมองการออกแบบ 3 ด้านบนพื้นฐานทางความต้องการมนุษย์สุนทรียผลิตภัณฑ์ และระบบและบริการที่เชื่อมโยงมนุษย์และผลิตภัณฑ์

ความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงของโลกส่งผลต่อการดําเนินวิชาชีพด้านการออกแบบอุตสาหกรรมหลักสูตรจึงจําเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะให้สอดคล้องกับผลกระทบของสภาวการณ์ เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันให้มหาบัณฑิตก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยีรวมถึงวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์
ผลิตมหาบัณฑิตที่มีมุมมองและสามารถประเมินการอกแบบบนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ สุนทรียผลิตภัณฑ์และระบบการบริการที่เชื่อมโยงมนุษย์และผลิตภัณฑ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในสาขาได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการออกแบบเพื่อสุขภาวะ และการออกแบบระบบผลิตภัณฑ์ผสานบริการ
2. นักวิจัยและพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกําหนดทุกประการเป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)
2. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือกําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. คุณสมบัติและเอกสารเพิ่มเติม
แผน ก แบบ ก 1 และ แผน ก แบบ ก 2
3.1 เสนอโครงร่างการวิจัยและแนวทางในการทําวิจัยความยาว 1 หน้ากระดาษ A4
3.2 แสดงแฟ้มผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับโครงร่างการวิจัยพร้อมใบสมัคร
3.3 ผู้ผ่านการทํางานวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษผู้สมัครชาวต่างชาติ หรือนักศึกษาแลกเปลี่ยน ต้องผ่านการทดสอบภาษาไทยก่อนเข้าศึกษาแผน ก แบบ ก 1 เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทําวิจัยหรือการทํางานอย่างน้อย 2 ปีอยู่ในสาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

course-download